รายงานข่าวจากกรมทางหลวง (ทล.) แจ้งว่า สำนักแผนงาน ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาประกอบด้วยกลุ่ม บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนี่ยริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด บริษัท เอเอ็มพี คอนซัลแตนท์ จำกัด และ บริษัท ธารา คอนซัลแตนท์ จำกัด ดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น การพัฒนาระบบโครงข่ายทางหลวง เชื่อมต่อสถานีรถไฟทางคู่แนวใหม่ สายบ้านไผ่-นครพนม เริ่มต้นศึกษาวันที่ 15 ธ.ค.65 สิ้นสุด 8 มี.ค.67 ระยะเวลา 450 วัน งบประมาณ 29,637,239 บาท
รถไฟรางคู่ สายบ้านไผ่-นครพนม เป็นทางรถไฟสายใหม่ที่มีแนวเส้นทางตัดกับทางหลวงหลายสายทางที่ก่อให้เกิดการพัฒนาเมืองตามแนวรถไฟที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะบริเวณรอบ ๆ สถานีรถไฟที่ตั้งใหม่ ที่จะก่อให้เกิดชุมชนใหม่ (Land use development)ส่งผลกระทบกับการจราจรบนทางหลวงในอนาคตอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อการเชื่อมต่อรูปแบบการเดินทางจากทางหลวงในเขตเมืองกับตัวสถานีรถไฟที่มี หากไม่มีการวางแผนพัฒนาระบบโครงข่ายทางหลวงที่เชื่อมโยงกับรถไฟอย่างมีประสิทธิภาพ
ทล.ได้ตระหนักถึงผลกระทบจากการพัฒนารถไฟรางคู่ สายบ้านไผ่-นครพนม ที่อยู่ระหว่างเริ่มดำเนินการ จึงมีความจำเป็นในการศึกษาพัฒนาระบบโครงข่ายทางหลวงเชื่อมต่อรถไฟรางคู่ สายบ้านไผ่-นครพนม เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งรองรับการพัฒนาเมืองตามแนวทางรถไฟในอนาคต พร้อมจัดทำแผนพัฒนาโครงข่ายทางหลวง (Action plan) เพื่อรองรับกับการเปิดให้บริการของรถไฟรางคู่ สายบ้านไผ่-นครพนม ในอนาคต
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบโครงข่ายทางหลวงเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟ แก้ไขปัญหาผลกระทบด้านการจราจรบนโครงข่ายทางหลวง จากกิจกรรมตัวสถานีรถไฟ เพื่อพัฒนาโครงข่ายทางหลวงรองรับการเจริญเติบโตของเมืองจากระบบขนส่งทางรถไฟสายใหม่ และเพื่อจัดทำแผนพัฒนาทางหลวงเพื่อรองรับรถไฟรางคู่สายบ้านไผ่-นครพนม
สำหรับโครงการดังกล่าวจะมีรายละเอียดการศึกษาดังนี้ 1.งานทบทวนยุทธศาสตร์ และแผนงานที่เกี่ยวข้อง 2.งานศึกษาด้านเศรษฐกิจและสังคม 3.งานศึกษาการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาเมืองจากกิจกรรมรถไฟ 4.งานศึกษาผลกระทบด้านจราจรจากตัวสถานีรถไฟ และการพัฒนาเมือง 5.งานศึกษารูปแบบแนวทางการพัฒนาทางหลวง 6.งานศึกษาความเหมาะสมโครงการเบื้องต้น โดยจะออกแบบแนวคิดเบื้องต้น งานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น งานจัดการมีส่วนร่วมกับประชาชน และ งานวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์ และ 7.งานจัดทำแผนปฏิบัติการ
โดยพื้นที่การศึกษาตามแนวโครงข่ายทางหลวงบริเวณรอบแนวเส้นทางรถไฟแนวใหม่ สายบ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง 354.783 กิโลเมตร(กม.)จำนวน 31 สถานี ได้แก่ 1.ชุมทางบ้านหนองแวงไร่ 2.สถานีภูเหล็ก 3.ป้ายหยุดรถไฟนาโพธิ์ 4.สถานีกุดรัง 5.สถานีบรบือ 6.ป้ายหยุดรถไฟหนองโน 7.สถานีมหาสารคาม 8.ป้ายหยุดรถไฟเขวา 9.ป้ายหยุดรถไฟศรีสมเด็จ 10.ป้ายหยุดรถไฟสีแก้ว 11.สถานีร้อยเอ็ด 12.สถานีเชียงขวัญ 13.สถานีโพธิ์ชัย 14.สถานี อ.โพนทอง 15.ป้ายหยุดรถไฟเมยวดี 16.สถานีหนองพอก 17.ป้ายหยุดรถไฟโคกสว่าง 18.ป้ายหยุดรถไฟห้องแซง 19.สถานีเลิงนกทา 20.สถานีนิคมคำสร้อยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
21.ป้ายหยุดรถไฟบ้านป่งแดง 22.สถานีมุกดาหาร 23.ป้ายหยุดรถไฟบ้านดานคำ 24.สถานีสะพานมิตรภาพ 2 25.สถานีหว้านใหญ่ 26.สถานีธาตุพนม 27.สถานีเรณูนคร 28.ป้ายหยุดรถไฟนาถ่อน 29.ป้ายหยุดรถไฟบ้านกลาง 30.สถานีนครพนม และ 31.สถานีสะพานมิตรภาพ 3
โดยครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน)จุดเริ่มต้นโครงการชุมทางบ้านหนองแวงไร่ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ผ่าน จ.มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร จุดสิ้นสุดที่สถานีสะพานมิตรภาพ 3 จ.นครพนม
ทั้งนี้ ช่วงเดือน ก.พ.นี้ บริษัทที่ปรึกษา และ ทล.จะลงพื้นที่ เพื่อจัดประชุมสัมมนาครั้งที่ 1 (ปฐมนิเทศ) ในพื้นที่โครการดังกล่าว เพื่อเปิดตัวโครงการและรับฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ ก่อนจะนำข้อมูลมาประกอบการศึกษาแนวเส้นทาง ระยะทาง รูปแบบโครงการ การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน แผนการก่อสร้าง และงบประมาณก่อสร้าง เพื่อผลักดันในการของบประมาณให้เกิดโครงการต่อไป
เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะช่วยยกมาตรฐานการพัฒนาระบบเชื่อมต่อการคมนาคมขนส่งทางรถไฟกับทางถนนให้มีความสมบูรณ์ สะดวก รวดเร็วกับผู้ใช้งาน พัฒนาโครงข่ายทางหลวง รองรับผลกระทบทางจราจรที่เกิดจากกิจกรรมระบบคมนาคมขนส่งทางรถไฟ และพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานทางด้านถนน เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเมืองจากระบบขนส่งทางรถไฟสายใหม่.